ต้นมะยม

💥ประวัติต้นมะยม
มะยม  ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียใต้และอเมริกันเขตร้อน
💥ชืิ่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus
💥ประโยชน์ของต้นมะยม:มะยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดและแปรรูป เช่น แช่อิ่ม ดอง น้ำมะยม แยม หรือกวน ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ในฟิลิปปินส์ใช้ทำน้ำส้มสายชู หรือกินดิบหรือดองในเกลือและน้ำส้มสายชู ในมาเลเซียนิยมนำไปเชื่อม ในอินเดียและอินโดนีเซียนิยมนำใบมะยมไปประกอบอาหาร
การปลูกต้นมะยม
: มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ : ยอดอ่อนที่มีสีแดงเรื่อมีรสฝาดมัน กินกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ อาหารรสจัดต่าง ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอด ให้ฟอสฟอรัสและวิตามินซีสูง ชาวญวนใช้ใบมะยมสดมาห่อแหนมก่อนห่อด้วยใบตอง เพราะทำให้มีรสเปรี้ยวช้า เก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น ส่วนผลมีในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน ใช้ปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เช่น แกงคั่ว หรือใส่ในส้มตำแทนมะละกอ และกินเป็นผลไม้ ถ้ามีมาก นำมาเชื่อม ดอง กวน ทำแยม กินเป็นขนม หรือทำเครื่องดื่ม ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีพอสมควร
สรรพคุณทางสมุนไพร : ส่วนต่างๆนำมาปรุงเป็นยาได้ ดอก นำมาต้ม กรองเอาแต่น้ำ ใช้ล้างตาได้ ผลทั้งดิบและสุก รสเปรี้ยว รับประทานแก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง ใบสด ต้มเอาแต่น้ำดื่ม ขับเสมหะ บำรุงประสาท และหากนำใบสดมาต้มรวมกับหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟือง ใช้แก้หวัด เปลือกต้นสด ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ทับระดู หรือเอามาต้มน้ำอาบแก้ผดผื่นคัน รากสด ต้มเอาน้ำดื่ม แก้โรคผิวหนัง ขับน้ำเลหือง
ต้นไม้สัญลักษณ์ : คำว่า “ยม” ของต้นมะยมเป็นคำพ้องรูป พ้องเสียง มีความหมายแปลว่า “นิยม” มะยมจึงเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล คนโบราณนิยมปลูกต้ยมะยมเพราะเชื่อว่าปลูกแล้วจะมีคนนิยมชมชอบ ในตำราพรหมชาติฉบับหลวงระบุว่า คสรปลูกต้นมะยมไว้ทางทิศตะวันตกของบ้านจะช่วยป้องกันผีร้ายไม่ให้มารบกวน บางตำรากล่าวว่าปลูกทางทิศใต้ของบ้านก็ได้ แต่ควรเป็นหน้าบ้านเพื่อให้คนนิยมชมชอบ ที่เป็นเช่นนี้เพราะต้นมะยมมีผลดกมาก น่าชมน่ามอง
💥ชื่อพื้นเมือง : มะยม
💥ชื่อวงศ์ : Phylolanthaceae
💥ชื่อสามัญ :Star Gooseberry
💥ลักษณะทั่วไปของต้นมะยม : เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม  เปลือกไม้แข็ง  เป็นปุ่มปม  เนื้ออ่อน  ใบเดี่ยวรูปไข่  เรียงสลับกันบนกิ่งเล็กเรียว  ดอกเล็กๆสีชมพู  เป็นช่อเล็กๆ ผลกลมเป็นพูรอบ
💥การดูแลรักษา : ใบ : เดี่ยว เรียงสลับบนกิ่งเล็กๆ ซึ่งเรียงเวียนเป็นกระจุก แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ
1ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกเล็ก ๆ ตามกิ่งและลำต้น ดอกแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกสีเขียวอ่อนหรือสีชมพูอมแดง ออกดอกตลอดปี
2ผล : สีเหลืองอมเขียว รูปร่างกลมแป้นขนาด 1-2 ซม. มีเนื้อฉ่ำน้ำ คุณค่าทางภูมิสถาปัตกรรม: แตกกิ่งแผ่กว้าง เรือนยอดโปร่ง ปลูกเป็นไม้ผลและไม้มงคลตามบ้าน เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
3ข้อควรระวัง  รากมะยมมีพิษ  ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ได้  โดยตำผสมกับอาหาร  ถ้าคนกินจะเกิดอาการเมา  คลื่นเหียนอาเจียนได้
เกร็ด  มะยมเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกในทิศตะวันตก  จะทำให้มีคนนิยมชมชอบ  มีเมตตามหานิยม  ในงานพิธีต่าง ๆ มักนำใบมะยมมามัดรวมกันและใช้ประพรมน้ำมนต์  ถ้ารูดใบออกให้เหลือแต่ก้านก็ตีเจ็บนักแล  บ้างก็ใช้ในพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้คนรักใคร่  โดยนำเนื้อไม้มะยมมาแกะสลักเป็นตุ๊กตาเล็ก ๆ คู่กับตุ๊กตาที่ทำจากไม้รัก  ใส่ในขวดเล็ก ๆ แช่น้ำมันจันทน์  แล้วนำมาปลุกเสก
4การขยายพันธุ์ : มะยมชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน ทนแล้งได้ดี แต่ไม่ทนน้ำท่วมขัง ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งหรือเพาะเมล็ด
5นิเวศวิทยา : เชื่อกันว่าเป็นพืชพื้นเมืองของมาดากัสการ์ ปัจจุบันปลูกทั่วไปในประเทศเขตร้อน เติบโตได้ดีทุกชนิด แต่ชอบดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง
🌟การขยายพันธุ์ : การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด จากการทดลองตอนต้นขนาดใหญ่อายุประมาณ 10 ปียังสามารถออกรากได้ และออกดอก ติดผลได้ในปีแรกหลังการปลูกกิ่งตอน การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย แต่ต้องใช้เวลาในการให้ผลผลิตยาวนานกว่าการตอน
🌟โรคและศัตรู : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร


🌿ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก :  🌿
https://th.wikipedia.org/wiki




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น