ต้นปาล์มเยอรมัน









ชื่อวิทยาศาสตร์  : Veitchia merrilliin
ชื่อพื้นเมือง : หมากตอนวล
ชื่งวงศ์ : PALMAE
ชื่อสามัญ : Manila palm Christmas palm
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ

ลักษณะทั่วไป :  หมากนวลเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทปาล์มมีทรงพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5 - 10 เมตรการเจริญเป็นลำต้นเดี่ยว


การปลูกต้นปาล์มหมากนวลหรือปาล์มเยอรมัน : 1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือ
   ปุ๋ยหมัก :    ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
2.การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร เหมาะที่จะใช้กับต้นหมากนวลที่มีอายุระหว่าง 1-3 ปี
   การปลูกควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 14-24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 :1 ผสมดินปลูกควร
   เปลี่ยนกระถางทุก12ปีแล้วแต่ความเหมาะสมของของการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตทั้งนี้เพราะการขยายตัวของ
   รากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

การดูแลรักษา : 

แสง                        ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ                             ต้องการปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง
ดิน                             ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย                             ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 2-4 ครั้ง
การขยายพันธ์                 การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรค                            ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อโรคได้ดี
แมลง                          เพลี้ยต่าง ๆ
อาการ                         ใบถูกกัดแทะ เป็นรู และเป็นรอย ทำให้ต้นแคระแกร็นและเสียรูปทรง
การป้องกัน                    รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก
การกำจัด                      ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

การขยายพันธุ์ : การขยายพันธุ์ปาล์ม ทั่ว ๆ ไปมีการขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ ใช้เมล็ดเพาะ และแยกหน่อจากต้นเดิม ทั้งนี้ก็เพราะปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ยืนต้น ไม่มีเปลือกและเนื้อไม้ที่มีเนื้อเยื่อเจริญให้รากแตกออกได้ ดังนั้นการขยายพันธุ์ของปาล์มจึงใช้เมล็ดเป็นเครื่องขยายพันธุ์และอาจใช้หน่อที่แตกออกจากต้นแม่ เป็นการขยายพันธุ์ก็ได้ 2 วิธี
1.  การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ การขยายพันธุ์ปาล์มโดยวิธีนี้จะทำได้เฉพาะแต่ปาล์มชนิดที่มีหน่อเท่านั้น เช่น หมากเขียว หมากเหลือง หมากแดง ยูเทเฟ้ จั๋ง ปาล์ม ไผ่ เป็นต้น ซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้
 เลือกหน่อที่เชื่อแน่ได้ว่า หน่อนั้นมีรากแล้วอย่างน้อย 3 ราก
ควรใช้วิธีตัดตาทิ้งไว้กับต้นแม่สักระยะหนึ่งประมาณ 30 วัน จากนั้นจึงแยกปลูกลงกระถางหรือที่ ๆ ต้องการปลูก พึงระวังอย่าให้ถูกแสงแดดจัดในระยะแรก
ถ้าจะขุดแยกทีเดียวควรนำปลูกในกระถางในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ วัสดุชำควรจะใช้ทรายผสมกับถ่านแกลบในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน แล้วเก็บไว้ในร่ม
2. การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด คือ การนำเมล็ดปาล์มที่เห็นว่าแก่ดีแล้ว มาเพาะขยายพันธ์โดยการปฏิบัติดังนี้
นำเมล็ดพันธ์ที่เก็บจากต้นแกะเปลือกออกล้างเมล็ดให้สะอาด(มีปาล์มบางชนิดที่สัมผัสกับผิวหนังแล้วจะคัน) ผึ่งไว้ให้แห้งในที่ ๆ มีความชื้นน้อย ๆ                  อย่านำตากแดดโดยเด็ดขาดก่อนนำไปเพาะพิจารณาดูว่าปาล์มชนิดใดเปลือกหนาและแข็งแรงมากน้อยอย่างไร ถ้าเปลือกแข็งมากให้นำเมล็ดปาล์มนั้นแช่น้ำเสียก่อนอย่างน้อย 5-10 วัน จึงนำไปเพาะ ถ้าเป็นเมล็ดเก่าเมื่อแช่น้ำจะมีเมล็ดส่วนหนึ่งลอยน้ำ แสดงว่าคุณภาพไม่ดี              
ควรทิ้งไป
ส่วนผสมของเครื่องเพาะ โดยทั่วไปจะใช้ทรายหยาบ และถ่านแกลบอย่างละเท่า ๆ กัน จะแยกกระถางหรือถุงเพาะหรือจะเพาะลงในภาชนะรวมเลยก็ได้ การงอกวิธีเพาะรวมจะมีประสิทธิภาพดีกว่า เพราะมีการแผ่ความร้อนสู่เมล็ดซึ่งกันและกัน
การวางเมล็ดจะวางลอยหรือให้ลึกในส่วนผสมของวัสดุเพาะประมาณ 1-2 ซม. การวางเมล็ดให้จมเมื่อปาล์มงอกจะมีความแข็งแรงกว่า
 ก่อนทำการเพาะควรจะได้คุกยาฆ่าเชื้อราเสียก่อน
เมื่อปาลืมงอกดีแล้ว ควรแยกขณะที่ใบเลี้ยงโผล่จากวัสดุเพาะสัก 1-2 นิ้ว และพึงระวังอย่าให้เมล็ดหลุด ขณะที่ปาล์มกำลังกินอาหารที่อยู่ในเมล็ดถ้าหลุดก็จะตาย
 ในวิธีการหนึ่ง คือ การเพาะในถุงพลาสติก โดยใช้ขุยมะพร้าว ปิดปากถึงให้แน่นและแขวนไว้ เมื่อมันงอกก็จะมองเห็นรากสีขาวโผล่ออกมา จึงนำลงไปปลูกในกระถางได้
ปาล์มที่เปลือกแข็งมาก ๆ บางครั้งต้องนำไปใส่น้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 30 ก่อนทำการเพาะ
เมื่อเพาะเมล็ดเรียบร้อยแล้วให้นำไปวางตั้งไว้ในร่มรำไร ไม่ควรให้ถูกฝนจะทำให้เมล็ดเน่าได้ง่าย

โรคและศัตรู :
ปาล์มก็เป็นพันธุ์ไม้ที่มีศัตรูต่างๆ มากมายเช่นเดียวกับพันธุ์ไม้ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะปาล์มที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก มนุษย์สนใจและพบว่าปาล์มชนิดนั้นๆ มีศัตรูมากมาย ปาล์มอาจถูกศัตรูทำลายได้ตั้งแต่แรกเกิดจากเมล็ดเป็นต้นอ่อน จนต้นโต ถูกศัตรูทำลาย ลำต้น ใบ ดอก และผล ศัตรูที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มนั้นมีมากมายทั้งโรค แมลงและสัตว์อื่นๆ เช่น หนู ลิง นกบางชนิด ฯลฯ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็นศัตรูใหญ่ๆ 3 จำพวกด้วยกันคือ
1. พวกโรค ซึ่งมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อราและโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย และโรคที่มีสาเหตุอื่นๆ โรคที่เกิดจากพวก Parasitic และ saprophytic organisms เช่น
เชื้อราที่ทำให้เกิดการเน่า
โรคนี้จะเกิดกับปาล์มพวก Arecastrum romanzoffianum, มะพร้าว, Phoenix sylvestris, Serenoa repens, Phoenix canariensis, sabal palmetto, Arikutyroba schizophylla, และหมากสง อาการของโรคคือ ต้นปาล์มจะชะงักงันการเจริญเติบโต ใบร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วก็แห้งตายแล้วก็ค่อยๆ กินกับใบอื่นๆ ต่อไป ใบยอดจะสั้นลง จะมีอาการอยู่ประมาณเป็นเดือนหรือปีๆ แล้วในที่สุดก็ตาย โรคนี้แผ่ขยายเร็วมาก ถ้าเกิดแก่มะพร้าว ผลได้ของมะพร้าวจะลดลงทันทีน้ำมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและน้ำเหนียวขันขึ้น เชื้อราจะมี spore สามารถปลิวไปตามลม การป้องกันโรคนี้ทำได้ยาก ถ้าหากว่าเชื้อรานี้เกิดแก่ต้นปาล์ม ก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็น วิธีการป้องกัน ถ้าหากทราบว่าโรคนี้ได้ระบาดกับปาล์มแล้ว ก็ป้องกันต้นอื่นๆ โดยใช้ผงกำมะถันโรยบนดินรอบๆ ต้นปาล์ม ต้นที่เป็นแล้วให้เผาทำลาย
โรคลำต้นเน่า
ส่วนมากเกิดแก่พวก Washingtonia ใบปาล์มจะเน่าตายภายใน 3 เดือน นับจากใบที่อยู่ชิดกับต้นไม้ไปสู่ปลายใบ ถ้าเกิดแก่พวกกล้าปาล์ม จะเน่าตายภายใน 10 วัน จะเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสูงๆ
โรค Canker
เกิดขึ้นแก่ลำต้นปาล์มพวก Arecastrum, เกิดจากเชื้อราพวก nematodes โรคนี้ทำให้เกิดเน่าที่กาบใบ และทำให้เกิดเน่าที่ตายอด
โรค Red ring
เกิดแก่มะพร้าว เกิดจากไส้เดือน Aphelenchoides cocophilus เช่นพวก nenatodes เกิดแก่ปาล์มที่ต้นยังเล็กอยู่ อาการที่เกิดขึ้นทำให้ขอของลำต้นมีสีแดงน้ำตาล การป้องกันทำลาย เผาต้นที่เกิดโรคนี้ และหาทางป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน
2. พวกแมลง มีแมลงหลายสิบชนิด ทั้งแมลงตัวโตและแมลงตัวเล็กๆ ที่มองเกือบไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีแมลงหลายสิบชนิดที่เป็นอันตรายแก่ต้นปาล์ม อาจทำให้ปาล์มแคระแกรนไม่เจริญเติบโต ได้แก่
• เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย วิธีการป้องกัน กำจัดนั้นก็คือ ใช้ยาฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ ยาที่ฉีดกำจัดเพลี้ยหอยนั้นก็คือ พวกน้ำมัน Oil emulsion
• เพลี้ยแป้ง ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกัน วีธีการป้องกันกำจัดใช้วิธีเดียวกับการป้องกันเพลี้ยหอย
• เพลี้ยอ่อน มีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้งคือ ตัวมันจะขับถ่ายสารละลายลักษณะขี้ผึ้งสีขาวออกมารอบๆ ตัวเป็นสีขาวๆ เมื่อนานๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีดำฉาบอยู่ตามผิวหน้าส่วนของปาล์มที่ถูกเจาะดูดกินน้ำเลี้ยง การป้องกันกำจัดนั้นใช้ยาพาราไทออน
• พวกหนอนม้วนใบ เป็นพวกแมลงปากกัด ทำลายใบในลักษณะเป็นตัวหนอนกัดกินใบมีหลายชนิดด้วยกัน จะกินใบหมดเหลือแต่เส้นแกนกลางใบเท่านั้น
• พวกผีเสี้อกลางคืน มี 2 ชนิดด้วยกันที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มคือ
B.mathesoni กัดกินยอดมะพร้าวอ่อนๆ กัดกินในผล ทำให้ผลร่วงก่อนถึงกำหนด ยาที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกนี้ใช้ในระยะที่เป็นตัวหนอนกำลังกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม เช่นสารหนู ตะกั่ว
• พวกหนอนปลอก เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
• พวกด้วงปีกแข็ง เป็นศัตรูที่ร้ายกาจพวกหนึ่งที่ทำให้ปาล์มตายได้ วีธีการป้องกันก็คือ จัดสวนให้สะอาด อย่าไม้มีท่อนไม้ ตอไม้ตายเก่าๆ อยู่ใกล้เคียง ยาที่ใช้กำจัดแมลงพวกนี้คือพวก เบ็นชินเฮกศ่คลอไรด์
• พวกด้วงงวง พวกนี้เกิดแก่ พวก Sabal และปาล์มพวก Phoenix Canariensis, มะพร้าว การทำลายจะเห็นได้ชัดที่ใบอ่อนที่ยอดหักพับแตกกระจายลง วีธีการป้องกันโดยทำความสะอาดสวน ไม่ปล่อยให้มีตอไม้ ท่อนไม้ผุๆ หญ้ารกๆ พบตัวอ่อนทำลายเสีย คนไทยใช้วิธีป้องกันมะพร้าวจากด้วงชนิดนี้ โดยใช้ทรายผสมกับเกลือ โรยตามคอกาบใบของมะพร้าว
• พวกมวน เกิดแก่ปาล์มขวด ลักษณะปีกใสบางมีเส้นคล้ายร่างแห การป้องกัน ใช้พ่นด้วยยาคลอเดน
• พวกปลวก เกิดแก่ลำต้นปาล์มที่แก่ๆ และมีเปลือกผุตายแล้ว วิธีป้องกัน คือ พยายามบำรุงปาล์มให้เจริญเติบโตแข็งแรง สะอาด และอาจใชัยาออลดริน ฉีดพ่น
• พวกเพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อนของปาล์ม โดยเฉพาะพวกปาล์มขวด จะทำให้ใบเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และน้ำตาล ในที่สุดก็แห้งตาย วิธีการป้องกัน ฉีดด้วยยาดีลดริน ในรูปสารละลายปนน้ำมันหรือพ่นเป็นยาผง
• พวกไร ส่วนมากเกิดแก่ปาล์มขวด โดยเฉพาะที่ใบอ่อน จะทำให้ตายในที่สุด วิธีป้องกัน คือ ใช้กำมะถันผงพ่นแห้ง หรือเป็นน้ำก็ได้
• พวกตั๊กแตน เป็นศัตรูที่ร้ายกาจอย่างหนึ่งของปาล์ม โดยเฉพาะปาล์มที่ยังมีขนาดเล็ก ถ้าหากมีมากๆ จะกัดกินใบขาดและหมดแม้แต่แกนกลางใบก็หมด กัดกินตลอดทั้ง 24 ช.ม. วิธีการป้องกัน ฉีดยาพ่นตามใบ หรือใช้เหยื่อพิษล่อ
3. พวกศัตรูอื่นๆ ได้แก่
หมูป่า ในต่างจังหวัดนั้นการปลูกมะพร้าวมักจะถูกหมูป่าเข้ามาขุดคุ้ยกัดกินต้นมะพร้าวที่อ่อนๆ เสียหาย
กระรอก ทำลายมะพร้าวให้เสียหายอย่างมาก โดยเจาะรูตามกาบใบ และเจาะผลมะพร้าวกินเนื้อภายใน
การป้องกันหมูป่านั้นอาจทำกับดัก หรือมีลวดล้อมรอบโคนต้น ป้องกันกระรอก ใช้ปลอกสังกะสีหุ้มลำต้น
กิ้งก่า มาทำรังในกระถางออกไข่ ออกลูก แล้วกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน
หนูบ้าน เป็นศัตรูชนิดหนึ่งที่ชอบขโมยเมล็ดปาล์มที่เพาะไว้ไปกิน

แหล่งข้อมูลที่ได้มา  :http://pirun.ku.ac.th/
ขอบคุณที่ได้รับชมผลงานของเราครับ/ค่ะ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น